ข่าว ทั่วไป

“ยิ่งลักษณ์”รอดยาก เผยเกิน 132 เสียง จ่อฟัน

สนช.นัด สังสรรค์ปีใหม่ 18.00 น. ก่อนลงมติคดีถอดถอน 3 อดีตนักการเมืองพรุ่งนี้ เผยเสียงฟัน "ปู" ฉลุย เกิน 132 คะแนน ส่วน "ขุนค้อน-นิคม"ยังก้ำกึ่ง
รายงาน ข่าวจากรัฐสภา แจ้งว่า สำหรับการลงมติถอดถอนนายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานรัฐสภา และน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 23 ม.ค.นั้น  เบื้องต้นในคดีของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ค่อนข้างชัดเจนว่าคะแนนเสียงน่าจะเกิน 132 เสียง ให้มีมติถอดถอน ขณะที่คดีของนายนิคม และนายสมศักดิ์ เสียงสมาชิกยังมีความเห็นก้ำกึ่งกัน โดยแบ่งเป็นฝ่ายที่เห็นว่าสามารถถอดถอนได้ ส่วนอีกฝ่ายยังมองว่าไม่สามารถถอดถอนได้ เนื่องจากกฎหมายยังไม่ชัดเจนในการเอาผิด เพราะรัฐธรรมนูญปี 2550 ไม่มีผลบังคับใช้แล้ว หากกฎหมายยังไม่ชัดเจน ก็คงต้องยกประโยชน์ให้จำเลยไป ทั้งนี้ กลุ่มที่จะลงมติถอดถอนส่วนใหญ่เป็นกลุ่ม 40 ส.ว. นักวิชาการบางส่วน และข้าราชการพลเรือน ข้าราชการทหารที่เกษียณอายุแล้ว ส่วน กลุ่มที่มีแนวโน้ม จะลงไม่มติไม่ถอดถอน หรืออาจใช้วิธีงดออกเสียง ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มนักธุรกิจ ข้าราชการพลเรือน ข้าราชการทหารที่ยังรับราชการอยู่

ทั้งนี้ในวันที่ 22 ม.ค. จะมีการประชุม สนช. เพื่อแถลงปิดคดีของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ในช่วงเช้า จากนั้นในเวลา 18.00 น. ทาง สนช.ได้นัดสมาชิกร่วมงานเลี้ยงสังสรรค์ปีใหม่ ที่สโมสรทหารบก เทเวศร์ ซึ่งคาดว่าจะเป็นโอกาสที่สมาชิกได้แลกเปลี่ยนความเห็นในเรื่องการลงมติ อย่างกว้างขวาง ก่อนที่จะมีการลงมติคดีถอดถอนในวันที่ 23 ม.ค.ต่อไป.

ข่าวการฟ้องอาญา น่าจะเป็นข่าวร้ายที่สุด สำหรับ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และ พี่ชาย คือ ทักษิณ ชินวัตร ที่เป็นคนชักนำเธอมาเป็น “นอมินีทางการเมือง” เมื่อสองสามปีก่อน เป็นข่าวร้ายและน่าลุ้นยิ่งกว่าการที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จะลงมติถอดถอนจากตำแหน่งทางการเมืองในอีกไม่กี่ชั่วโมงข้างหน้า (วันที่ 23 มกราคม) เสียอีก
      

       เพราะถ้าศาลตัดสินว่าผิดจริง นั่นก็หมายความว่า “คุก” และยังมีผลต่ออนาคตทางการเมืองที่ต้องดับวูบลงแบบเลี่ยงไม่ได้ หากยังไม่มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวปี 57 มาตรา 35(4) ที่กำหนดเป็นโรดแมปของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ให้มีคุณสมบัติต้องห้ามเข้าสนามการเมืองตลอดชีวิต
      
       แม้ว่าที่ผ่านมาจะพยายามยื้อกันทุกวิถีทาง เพื่อให้การสั่งฟ้องยืดเวลาออกไปให้นานที่สุด ทั้งในเรื่องของการเสนอเพิ่มเติมพยานเข้ามาเป็นจำนวนมาก แต่ถึงอย่างไร เมื่อเวลาผ่านไป และด้วยสายตาเฝ้ามองอย่างไม่กะพริบของสังคมทำให้ต้องมาถึงบทสรุปแบบนี้จนได้ นั่นคือการเห็นชอบสำนวนในการสั่งฟ้องคดีอาญา ต่อ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แม้ว่าต้องรอเวลาอยู่บ้าง แต่นั่นเป็นรายละเอียดปลีกย่อย ส่วนหลักการและข้อสรุปสำคัญได้ผ่านไปแล้ว
      

       อย่างไรก็ดี แม้ว่าล่าสุด วันที่ 21 มกราคม รองอัยการสูงสุด วุฒิพงศ์ วิบูลย์วงศ์ ในฐานะหัวหน้าคณะทำงานพิจารณาสำนวนร่วมกับทาง ป.ป.ช. จะออกมาปฏิเสธว่าไม่รู้เรื่องก็ตาม แต่ถึงอย่างไรถือว่าทุกอย่างใกล้มาถึงบทสรุปเต็มทีแล้ว รวมถึงอัยการด้วยที่จะต้องแบกรับความกดดันจากสังคมยุคใหม่ กำลังจับตามองอย่างใกล้ชิด และระแวงมากขึ้นอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน
     
       เมื่อพิจารณาจากหลักฐานของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต แห่งชาติ (ป.ป.ช.) จากการลงมติด้วยเสียงเอกฉันท์ ก็ย่อมยืนยันได้ดีถึงน้ำหนักของพยานหลักฐานที่สามารถเอาผิดอดีตนายกรัฐมนตรี คนนี้ได้ ขณะเดียวกันหากพิจารณาในแง่ดีการที่ทางฝ่ายอัยการสูงสุดได้เสนอให้มีการสอบ สวนเพิ่มเติมเพื่อความสมบูรณ์ของสำนวนมากยิ่งขึ้น ก็ยิ่งทำให้มีความ “แน่นหนา” มากขึ้นไปอีก
     
       สำหรับคดีนี้ถือว่ามีความกดดันด้วยตัวของมันเอง อันเนื่องมาจากมูลค่าความเสียหายที่สูงมาก นั่นคือไม่น้อยกว่า 6 แสนล้านบาท มีชาวนาต้องฆ่าตัวตายไปนับสิบคน และที่ผ่านมามีการท้วงติงคัดค้านให้ยกเลิกหรือปรับปรุงแก้ไขเพื่อลดทอนความ เสียหาย ป้องกันทุจริต ทั้งเป็นหนังสือแบบลายลักษณ์อักษร ทั้งการอภิปรายไม่ไว้วางใจ สารพัด แต่ฝ่ายรัฐบาลในขณะนั้นกลับไม่สนใจ เนื่องจากมั่นใจในพลังงานอำนาจ และมี “มวลชนส่วนตัว” หนุนหลัง
     
       แต่เมื่อทุกอย่างพลิกผันตัวเองต้องตกจากอำนาจ และนำไปสู่การฟ้องคดีอาญาดังกล่าว มันก็น่าเป็นเรื่องที่ต้องหวั่นไหว เพราะคดีอาญาปลายทางก็คือ “เสี่ยงคุก” ขณะเดียวกัน เมื่อพิจารณาจากขั้นตอนการพิจารณาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่ง ทางการเมือง ก็ใช้เวลาไม่นานนัก ก็รู้ผลแล้ว
     
       ดังนั้น ถ้าบอกว่านาทีนี้ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร “คอพาดเขียง” แล้วก็ว่าได้ เพราะเมื่อพิจารณาจากหลายกรณีที่เกี่ยวเนื่องกัน ทั้งที่คดีถอดถอนที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จะลงมติกันในวันที่ 23 มกราคม แต่ก่อนหน้านั้นสองวัน ทางคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ก็ได้มีมติเอกฉันท์ชี้มูลความผิด อดีตรัฐมนตรี ข้าราชการและเอกชนที่เป็นเครือข่ายของเธอในคดีที่ทุจริตการขายข้าวแบบจีทูจี ซึ่งจากการระบุของกรรมการ ป.ป.ช. เจ้าของสำนวน วิชา มหาคุณ ว่า ทำให้เกิดความเสียหายไม่ต่ำกว่า 6 แสนล้านบาทเช่นเดียวกัน มันก็ช่วยไม่ได้ที่จะเพิ่มความกดดันทางอ้อมในการลงมติ “ถอดถอน” ได้อีกทางหนึ่ง
     
        ดังนั้น ถ้าจะว่าไปแล้ว การที่ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ถูกสภานิติบัญญัติแห่งชาติลงมติถอดถอนถือเป็นเรื่องเคร่งเครียดพออยู่แล้ว แต่การที่ต้องถูกดำเนินคดีอาญา เป็นเรื่องที่เครียดยิ่งกว่า เพราะถ้า “ศาลฎีกาฯ” ชี้ว่าผิดก็จบเห่ เสี่ยงคุกสถานเดียว !! ก็ต้องรอดูกันต่อไปค่ะ.....

 

หวย99 | Distributed By เว็บหวยออนไลน์ | Designed By หวย99

รูปภาพธีมโดย Bim. ขับเคลื่อนโดย Blogger.